ชวนรู้จักทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับการปลูกผมถาวรของชาว Transgender
เพราะ ‘ความเรียล’ ของเพศสภาวะ (Gender) ประกอบขึ้นจากหลายปัจจัย
ไม่เพียงแต่การเลือกเสื้อผ้าเพื่อแสดงออกจากภายนอก และการเลือกใช้ฮอร์โมนเพื่อปรับสภาพร่างกายจากภายในเท่านั้น แต่ ‘เส้นผม’ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แสดงให้เห็นถึง ‘ความเรียล (Realness)’ ที่ชาว Transgender ปรารถนา เฉกเช่นเดียวกับ ‘ความเรียล’ ที่ปรากฏในซีรี่ย์อย่าง POSE (2018) ที่ตัวละคร ‘หญิงข้ามเพศ’ เลือกไว้ทรงผมของตัวเองให้ดูเหมือนผู้หญิงเพื่อบ่งบอกถึง ‘ความเป็นหญิงของตัวเอง’ ให้ได้มากที่สุด
ดังนั้น ในเมื่อ ‘ผม’ ไม่ได้ใช้เรียกผู้พูด แต่แสดงถึงเพศสภาวะ (Gender) ที่ปรารถนา คลินิกปลูกผมถาวรชั้นนำ Bangkok Hair Clinic จะขอพาชาว Transgenders ทุกคนไปรู้จักถึงวิธีการปลูกผมถาวรที่ปลอดภัย พร้อมชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดเฉพาะในการปลูกผมของแต่ละเพศที่ควรรู้เพื่อสร้าง ‘ความเรียล’ ที่ปรารถนาได้อย่างปลอดภัย และตรงกับความต้องการมากที่สุด แต่จะมีเรื่องใดที่ต้องพิจารณาบ้างนั้น ติดตามได้เลย
แต่ก่อนที่จะไปฟันธงว่าวิธีปลูกผมถาวรแบบไหนเหมาะสำหรับเพศใด หรือแต่ละวิธีจะช่วยให้ผมขึ้นเป็นธรรมชาติได้อย่างไรบ้างนั้น เราไปทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของแนวผม หรือ Hairline ของแต่ละเพศกันก่อน ซึ่งความเข้าใจในส่วนนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถวางแผนในการปลูกผมให้ตรงกับลักษณะของเพศสภาวะที่ปรารถนาได้ โดยแนวผมของแต่ละเพศนั้นจะมีรายละเอียด ดังนี้
โดยทั่วไปแล้ว แนวผมของแต่ละเพศนั้นจะมีข้อแตกต่างกันหลัก ๆ อยู่ 4 แบบ ประกอบไปด้วย รูปทรงของแนวผม ทิศทางและลักษณะของเส้นผม ตำแหน่งของแนวผม และริ้วรอยแห่งวัยที่เกิดขึ้นบริเวณแนวผม
และในเรื่องแนวผมนี้ ‘ชายข้ามเพศ’ หรือ ‘หญิงที่ต้องการข้ามเพศมาเป็นชาย’ (Transgender Man) จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โดยปกติแล้ว แนวผมของเพศหญิง (Female Sex) เดิมนั้นจะมีพื้นที่หน้าผากที่น้อยกว่าเพศชายทั่วไป (Male Sex) อีกทั้งเส้นผมยังมีขนาดที่บางกว่ามาก และเพื่อเสริม ‘ความเรียล’ ให้กับเส้นผมมากยิ่งขึ้น ชายข้ามเพศควรปลูกผมถาวรใหม่เพื่อสร้างแนวผมที่เป็นลักษณะแบบเพศชาย
ไม่เพียงแต่เรื่องแนวผมเท่านั้น แต่อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ ‘ชายข้ามเพศ’ ต้องทำความเข้าใจให้ดีก็คือ เพศชายมักจะมีปัญหาศีรษะล้านจากด้านหน้า ซึ่งปัญหานี้จะทำให้พื้นที่หน้าผากยิ่งกว้างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม เพศหญิงมักจะมีปัญหาผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ที่บริเวณกลางศีรษะแทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วิธีการปิดผมบางของแต่ละเพศแตกต่างกัน และที่สำคัญ รูปทรงของแนวผมของเพศชายส่วนใหญ่ยังมีลักษณะเป็นรูปตัว M ที่มีการเว้าโค้งด้านข้าง ในขณะที่ผู้หญิงจะมีรูปทรงของแนวผมเป็นแนวโค้ง หรือรูปวงรี
ผู้หญิงข้ามเพศ หรือ “ผู้ที่เป็นชายและต้องการเป็นหญิง” (Transgender Woman) จะมีแนวผมเหมือนกับเพศชาย (Male Sex) ในลักษณะเป็นรูปตัว M และเมื่ออายุมากขึ้นก็อาจมีปัญหาศีรษะล้านแบบเว้าไปด้านข้าง ซึ่งหากผู้หญิงข้ามเพศคนไหนต้องการเพิ่ม ‘ความเรียล’ ให้มากขึ้นนั้น จะต้องทำการปลูกผมถาวรเพื่อแก้รูปทรงของแนวผม อีกทั้งยังอาจต้องลดพื้นที่หน้าผากลงไปเพื่อทำให้ดูเหมือนเพศหญิงมากขึ้น
ไม่เพียงแต่จะพิจารณาเรื่องแนวผม ตลอดจนทำความเข้าใจวิธีปิดผมบางเท่านั้น แต่การปลูกผมถาวรให้ปลอดภัย และตรงกับความต้องการของแต่ละเพศมากที่สุดยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดที่มาจากเพศสภาพเดิม (Sex) และข้อจำกัดใหม่ที่เกิดขึ้นจากเพศสภาวะ (Gender) อีกด้วย
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ชายข้ามเพศส่วนมากมักจะทำการฉีดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเข้าร่างกาย โดยนอกจากจะทำให้เกิดหนวดและทำให้เสียงแตกเหมือนผู้ชายแล้ว ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงในเรื่องของผมบางและศีรษะล้านแบบเดียวกับผู้ชาย เนื่องจากเมื่อมีการฉีดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเข้าไป ร่างกายก็จะแปลงฮอร์โมนนี้เป็น DHT ซึ่งจะทำให้รูขุมขนบนศีรษะเล็กลง และทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงข้ามเพศที่ร่างกายอัดแน่นไปด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้นก็อาจประสบปัญหาศีรษะล้านได้ แต่อย่างไรก็ดี มีผลการศึกษาพบว่า การฉีดฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไปในร่างกายอาจช่วยชะลอปัญหาผมบาง และศีรษะล้านแบบเพศชายได้ แต่หากผู้หญิงข้ามเพศที่มีปัญหาศีรษะล้านมาก่อน และมีการใช้ฮอร์โมนอยู่แล้ว การฉีดฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไปก็ไม่อาจช่วยลดปัญหาผมร่วง หรือสร้างผมใหม่ขึ้นมาแทนที่ได้
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนคงได้เห็นถึงข้อจำกัดที่อาจส่งผลต่อการเลือกวิธีปลูกผมถาวร หรือหลายคนยังเกิดคำถามที่ว่าหากชาว Transgender ต้องปลูกผมพักฟื้นกี่วันกันแน่ และเพื่อจบทุกปัญหาคาใจนี้ เราจะขออธิบายวิธีการปลูกผมที่เหมาะกับแต่ละเพศให้เอง
สำหรับผู้ชายข้ามเพศที่ต้องการปลูกผม ตลอดจนหนวดเคราให้ตรงกับความเป็นชายมากขึ้นนั้น การปลูกผมแบบ FUE และ DHI อาจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า เนื่องจากสามารถกำหนดรูปทรงของแนวผม ตลอดจนทิศทางการขึ้นของเส้นผมให้เหมือนผู้ชายได้ อีกทั้งยังทำให้ผมขึ้นเป็นธรรมชาติมากกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย
การปลูกผมสำหรับผู้หญิงข้ามเพศนั้นสามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี ประกอบไปด้วยการปลูกแบบ DHI การปลูกผมแบบ FUE และการปลูกผมแบบ FUT โดยการปลูกผมทั้ง 3 วิธีนี้ถือว่าสามารถแก้ไขปัญหาศีรษะล้านแบบผู้ชายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังกำหนดแนวผมใหม่ได้แบบที่ต้องการ ซึ่งหากยังไม่มีปัญหาศีรษะล้านมากนัก การปลูกผมแบบ DHI และ FUE ก็อาจตอบโจทย์ความต้องการได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือโกนหัว แต่หากมีปัญหาศีรษะล้านมาก ๆ ก็อาจเลือกปลูกผมแบบ FUT ได้เช่นกัน
สำหรับชาว Transgenders ที่ต้องการเพิ่ม ‘ความเรียล’ ของเส้นผม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกปลูกผมถาวรที่ไหนดี Bangkok Hair Clinic ขอแนะนำให้ทุกคนพิจารณาเลือกคลินิกปลูกผมที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการปลูกผม และเพื่อมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแบบที่ต้องการ อีกทั้งยังควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน และมีวิธีปลูกผมที่เหมาะสมให้ได้เลือกอย่างหลากหลาย อาทิ การปลูกผมแบบ DHI และ FUE ตลอดจนการปลูกผมอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้
Bangkok Hair Clinic เป็นคลินิกปลูกผมชั้นนำที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านทองหล่อที่มาพร้อมกับแพทย์ประสบการณ์สูง และมีความเชี่ยวชาญในการปลูกผมทุกรูปแบบที่คอยให้คำปรึกษา และสร้าง ‘ความเรียล’ ในแบบที่ Transgenders ทุกคนใฝ่ฝันได้ในงบประมาณที่ใช่ ไม่ว่าจะเพศไหน มีความต้องการแบบใด คุณหมอผู้เชี่ยวชาญของเราก็พร้อมสานทุกความเรียลให้เป็นจริง
มีปัญหาเส้นผม ปรึกษาแพทย์ฟรีที่ Bangkok Hair Clinic
E-mail: bangkokhairclinic@gmail.com หรือติดต่อเราช่องทางอื่น ๆ